คำถามที่พบบ่อย
ดูยังไงว่าที่นอนยุบตัว?
สังเกตได้จากการวัดความลึกของรอยยุบ โดยใช้ไม้บรรทัดหรือวัสดุที่เป็นของแข็งไม่โค้งงอ
*ต้องตรวจสอบเงื่อนไขตามคู่การรับประกันและข้อยกเว้นต่างๆ*
อาการปวดหลังเกิดขึ้นได้จากสาเหตุอะไรบ้าง
หลายคนที่มีอาการปวดหลัง หลังจากตื่นนอน มีบริเวณที่ปวดโดยเฉพาะ บั้นท้าย และบั้นเอว แต่ตื่นมาพักพักอาการก็หายไป หรืออาจปวดขณะนอนหลับ
สาเหตุ อาจเป็นที่นอน หรือหมอน เพราะเป็นสิ่งที่รองรับบรอเวณหลังหรือร่างกายของเรา รวมไปถึงหมอนที่รองรับกระดูกต้นคอ นอกจากนั้น ท่านนอนที่ผิดก็สามารถทำให้ปวดหลังได้ รวมทั้งอาการเครียดจากการทำงาน การนั่งทำงานระยะเวลานานไม่มีการขยับร่างกาย อาจทำให้กล้ามเนื้อเกร็งตัวโดยไม่รู้ตัว เมื่อนอนละตื่นขึ้นสามารถทำให้ปวดหลังได้ หากใครที่พบอาการปวดหลัง หลังจากตื่นนอน แล้วพบว่ามีอาการปวดเมื่อย หรือชาอยู่หลายสัปดาห์ ควรรีบพบแพทย์เพื่อหาสาเหตุเพื่อรักษาต่อไป
วิธีการป้องกันอาการปวดหลัง
1.ไม่นำสิ่งของวางไว้ทั่วเตียง เพื่อลดการกดทับของร่างกายขณะที่นอน
2.คนที่ทำงานหน้าคอมพิวเตอร์ หรือคนนั่งทำงานเป็นเวลานาน ควรลุกขึ้นขยับร่างกาย เพื่อลดกล้ามเนื้อเกร็จตัวโดยไม่รู้ตัว
3.การปรับท่านอนที่ถูกต้อง เพื่อลดอาการปวดหลัง เอว และคอ
จะทำความสะอาดและดูแลรักษาที่นอนอย่างไร?
การทำความสะอาดปลอกหุ้มสามารถทำได้ง่ายๆ เพียงไม่กี่ขั้นตอน
- ใช้น้ำยาซักแห้งแบบขวด ฉีดและทิ้งไว้ 5 นาที
- ใช้ทิชชู่แห้งเช็ดทำความสะอาดเบาๆ
- การดูแลรักษาที่นอน
- แนะนำหมุนหัวและท้ายทุก 3 เดือน เพื่อรักษาความสมดุลของที่นอน
- ใช้ผ้ารองกันเปื้อนเพื่อป้องกันคราบเปื้อน
ข้อควรระวัง: ห้ามนำอุปกรณ์ไฟฟ้าสำหรับทำความร้อนวางบนที่นอน เพราะอาจทำให้เกิดความเสียหายของที่นอนได้
ทำความรู้จักกับที่นอนที่รองรับตามสรีระศาสตร์
สำหรับหลายๆ ท่านยังคงสัยสัยว่า ที่นอนที่รองรับตามสรีระศาสตร์เป็นยังไง วันนี้ จะมาไขข้อสงสัยกันค่ะ
ที่นอนที่ออกแบบมาเพื่อสนับสนุนโครงสร้างร่างกายอย่างเหมาะสม โดยคำนึงถึงหลักการทางการยศาสตร์ เพื่อส่งเสริมการนอนที่สบายและมีสุขภาพดี
1.การรองรับส่วนโค้งของร่างกาย:
– ปรับตัวตามรูปร่างของผู้นอน โดยเฉพาะบริเวณเอว สะโพก และไหล่
– ช่วยรักษาแนวกระดูกสันหลังให้อยู่ในตำแหน่งที่เป็นธรรมชาติ
2.การกระจายน้ำหนัก:
– กระจายน้ำหนักตัวอย่างสม่ำเสมอ ลดแรงกดทับบนจุดต่างๆ ของร่างกาย
– ช่วยลดอาการปวดเมื่อยตามข้อต่อและกล้ามเนื้อ
3.การรองรับเฉพาะส่วน:
– มีการแบ่งโซนการรองรับ เช่น แข็งกว่าบริเวณสะโพก นุ่มกว่าบริเวณไหล่
4.การลดการรบกวนจากการเคลื่อนไหว:
– ลดการส่งผ่านการเคลื่อนไหวไปยังอีกฝั่งของที่นอน เหมาะสำหรับคู่นอน
ที่นอนที่รองรับตามสรีระศาสตร์มีจุดประสงค์หลักคือการส่งเสริมการนอนที่มีคุณภาพ ลดอาการปวดเมื่อย และป้องกันปัญหาสุขภาพที่เกี่ยวข้องกับการนอน อย่างไรก็ตาม ความเหมาะสมของที่นอนขึ้นอยู่กับความชอบส่วนบุคคลและลักษณะทางกายภาพของแต่ละคนด้วย
ปลอกหุ้มสามารถนำไปซักได้ไหม?
คำตอบคือไม่แนะนำให้นำไปซักเนื่องจาก การถอดปลอกหุ้มนำไปซักจะทำให้เกิดปัญหาที่ตามมาต่างๆ เช่น ด้ายรุ่ย, เป็นขุยและผ้าอาจหดได้ หากนำไปอบความร้อน
วิธีการตรวจสอบ Label สินค้า สังเกตได้จากตรงไหน?
1.สำหรับที่นอน สามารถสังเกตได้จากปลอกหุ้มส่วนท้ายของที่นอน (ป้ายสีขาว)
2.สำหรับเก้าอี้ สามารถสังเกตได้จากใต้เบาะของเเก้าอี้
3.สำหรับฐานเตียงไม้ระแนง สามารถสังเกตได้จากส่วนท้ายของฐานเตียง
4.สำหรับฐานเตียงไฟฟ้า สามารถสังเกตได้ด้านล่างฐานของหัวหรือด้านท้ายของฐานเตียง
5.สำหรับโต๊ะปรับระดับ สามารถสังเกตได้จากใต้โต๊ะปรับระดับ
6.สำหรับแขนจับจอ สามารถสังเกตได้จากด้านข้างของแขนจับจอ
ที่นอนโดนน้ำต้องรักษาอย่างไร?
วิธีดูแลหากที่นอนเปียกน้ำ
– ให้ถอดปลอกหุ้มที่นอน และนำปลอกหุ้มไปแช่น้ำซักมือเท่านั้น
– นำปลอกหุ้ม ไปตากในที่ร่ม ห้ามโดนแดด
– หาพื้นที่โล่งๆ และนำที่นอนไปผึ่งในที่ร่มให้มีอากาศระบายและแห้ง ใช้พัดลมเป่าตลอดวัน
ที่นอนใหม่ สามารถวางทับที่นอนเก่าได้หรือไม่?
สำหรับการนำที่นอนใหม่ วางทับกับที่นอนเก่าโดยทั่วไปแล้วไม่แนะนำให้ทำ เนื่องจากมีข้อเสียหลายประการ เช่น
1. การรองรับที่ไม่เหมาะสม: อาจทำให้เสียประโยชน์จากคุณสมบัติของที่นอนใหม่ และที่นอนเก่าที่ยุบตัวแล้วอาจทำให้ที่นอนใหม่ไม่สามารถรองรับร่างกายได้อย่างเหมาะสม
2. การระบายอากาศ: การซ้อนที่นอนอาจทำให้การระบายอากาศแย่ลง เสี่ยงต่อการสะสมของความชื้นและเชื้อรา
3. อายุการใช้งานที่ลดลง: ที่นอนใหม่อาจเสื่อมสภาพเร็วขึ้นเนื่องจากพื้นผิวรองรับที่ไม่สม่ำเสมอ
4. ประสิทธิภาพการนอน: อาจทำให้คุณภาพการนอนแย่ลง เนื่องจากที่นอนไม่ได้ทำหน้าที่อย่างเต็มประสิทธิภาพ
ข้อแนะนำ
ตรวจสอบโครงเตียง: ตรวจดูว่าโครงเตียงยังแข็งแรงและเหมาะสมกับที่นอนใหม่หรือไม่
กำจัดที่นอนเก่า: หากเป็นไปได้ ควรนำที่นอนเก่าออกและใช้ที่นอนใหม่เพียงชิ้นเดียว
เงื่อนไขที่ไม่ครอบคลุมมีอะไรบ้าง?
การรับประกันไม่ครอบคลุมอะไรบ้าง
1. ความเสียหายจากภัยพิบัติทางธรรมชาติ เช่น อุทกภัย อัคคีภัย
2. การยุบ ไม่คืนตัวที่เกิดจากการใช้งานปกติไม่ถึง 1 นิ้ว(~ 2.5 ซม.)
3. ด้านความชอบในความนุ่มสบาย ความเสียหายจากการของแต่ละบุคคล และความนุ่มที่เพิ่มขึ้น จากการใช้งานปกติ
4. ความเสียหารจากการเคลื่อนย้าย, การพับงอผิดวิธี
5. ความเสียหายจากการเก็บที่นอนไว้นอกอาคาร/กลางแจ้ง
6. คราบต่างๆ ที่ไม่ได้เกิดจาก กระบวนการผลิต รวมถึง การซักปลอกผ้าหุ้มจะทำให้ การรับประกันสินค้าหมดทันที
7. ความเสียหายจากการใช้งานผิดวัตถุประสงค์ เช่น ยืน กระโดดหรือ วางของหนักบนที่นอนนานๆ
8. ยางพาราหรือโฟมในตัวที่นอนที่ได้รับความเสียหายจากการฉีกขาด หรือถูกตัด
การรับประกันไม่ครอบคลุมอะไรบ้าง
การรับประกันไม่ครอบคลุมอะไรบ้าง
1. ความเสียหายจากภัยพิบัติทางธรรมชาติ เช่น อุทกภัย อัคคีภัย
2. การยุบ ไม่คืนตัวที่เกิดจากการใช้งานปกติไม่ถึง 1 นิ้ว(~ 2.5 ซม.)
3. ด้านความชอบในความนุ่มสบาย ความเสียหายจากการของแต่ละบุคคล และความนุ่มที่เพิ่มขึ้น จากการใช้งานปกติ
4. ความเสียหารจากการเคลื่อนย้าย, การพับงอผิดวิธี
5. ความเสียหายจากการเก็บที่นอนไว้นอกอาคาร/กลางแจ้ง
6. คราบต่างๆ ที่ไม่ได้เกิดจาก กระบวนการผลิต รวมถึง การซักปลอกผ้าหุ้มจะทำให้ การรับประกันสินค้าหมดทันที
7. ความเสียหายจากการใช้งานผิดวัตถุประสงค์ เช่น ยืน กระโดดหรือ วางของหนักบนที่นอนนานๆ
8. ยางพาราหรือโฟมในตัวที่นอนที่ได้รับความเสียหายจากการฉีกขาด หรือถูกตัด